วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กลยุทธ์ น่านน้ำ ถ้าไม่รู้จักสินค้าตัวเอง ก็ยากจะสำเร็จ

กลยุทธ์ น่านน้ำ (Ocean)

จากบทที่ผ่านๆมา เราได้สนับสนุนให้ทุกท่านที่ขายของ หรือสร้างแบรนด์ ได้ทำการวางแผน วางกลยุทธ์ แต่สิ่งหนึ่งที่เรายังไม่ได้อธิบาย นั่นก็คือ สินค้าของคุณ เป็นแบบไหน และควรจะวางแผนอย่างไรครับ เพราะว่าสินค้าต่างประเภท ต่างตลาด การวางแผนก็จะต้องต่างกันไป คราวนี้จึงมาอธิบาย การแบ่งกลยุทธ์ของสินค้าในแต่ละแบบครับ เรื่องนี้ก็คือเรื่องของ แนวคิด น่านน้ำ
น่านน้ำ

แนวคิดน่านน้ำนั้น หลายคนอาจจะพอรู้จักอยู่บ้าง โดยเฉพาะ Blue และ Red แต่ปัจจุบันมีเพิ่มออกมาบ้าง เราลองมาดูกันว่า แต่ละชนิดเป็นอย่างไร
  1. กลยุทธ์ น่านน้ำสีฟ้าหรือคราม (Blue Ocean Strategy) คือกลยุทธ์เพื่อสร้างความแตกต่าง ให้กับสินค้าและแบรนด์ โดยการคิดนอกกรอบ คิดใหม่ หาช่องว่างของธุรกิจ หรือก็คือ ตลาดที่คู่แข่งไม่มากนั่นเอง ธุรกิจประเภทนี้เอื่อยไม่ได้นะครับ จะต้องหาอะไรมาพัฒนาตัวเองตลอด เพื่อนำในสิ่งที่คนอื่นไม่เคยเจอ พูดง่ายๆคือ กลยุทธ์นี้ คือกลยุทธ์ของสินค้า ที่เป็นของใหม่ คู่แข่งน้อย ทุกกลยุทธ์ที่ทำ มีจุดประสงค์ให้ลูกค้าสนใจ และหันมาใช้ สินค้าและบริการของคุณ เช่น ในอดีตคนชอบดื่มน้ำอัดลมกันมาก อยู่ดีๆ ก็มีบางจ้าวออกมาเปิดตัวชาเขียว ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมาก (และต่อมาเมื่มีคนกระโดดเข้ามามาก น่านน้ำนี้ก็เปลี่ยนสีไป)
  2. กลยุทธ์ น่านน้ำสีแดง (Red Ocean Strategy) คุณจะเห็นได้ทั่วไปเลย และผมมั่นใจว่า คนส่วนใหญ่ที่มาอ่าน และขายของออนไลน์กันเนี่ย ก็เป็นคนขายสินค้า ประเภทนี้กันเยอะ สินค้าประเภทนี้ คุณอาจจะเคยได้ยินเวลาคุยกันเพื่อน “เฮ้ย จะขายอันนี้เรอะ มันเรดแล้วนะ” เรดที่ว่าก็คือ Red Ocean นั่นเอง ตลาดแดงเดือด คู่แข่งเยอะมากๆ อาจจะเป็นของที่มีอยู่มั่วไป ไม่แตกต่าง ไม่ซื้อร้านคุณเขาก็ซื้อร้านอื่นได้ ไม่แตกต่าง มีแหล่งวัตถุดิบที่หาง่าย ใครๆก็คิดจะขาย หรือเป็นพวกดาวน์ไลน์ ไม่มีสต็อก สินค้าที่รับตัวแทนจำหน่าย ทั้งหลาย ซึ่งการที่คุณจะมาขายสินค้าประเภทนี้ คุณจะสบายใจได้เลยว่า “มีคนต้องการซื้อของแน่นอน” แต่ข้อเสียก็คือ คนมาขายเหมือนคุณน่ะเยอะแน่ๆ ดังนั้น จุดประสงค์ของการวางแผนก็คือ ทำให้คุณสามารถดึง ส่วนแบ่งการตลาด (Market share) ให้ได้สูงๆ ดังนั้นกลยุทธ์ที่จะต้องทำคือ ทำอย่างไรถึงจะดึงลูกค้าจากคู่แข่งมาให้ได้ เช่น เสื้อผ้าเซลล์ปลายปี หรือ ชาเขียว (ที่ตอนนี้ไม่บลูแล้ว) มีกลยุทธ์ส่งรหัสใต้ฝาลุ้นรถ (เปอร์เซ็นต์ได้ต่ำกว่าถูกหวย แต่คนก็ยินดีจะซื้อมากขึ้น หรือเปลี่ยนจากหยิบยี่ห้ออื่น มาหยิบยี่ห้อนี้แทน)
  3. กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว (White Ocean Strategy) ถือว่าเป็นน่านน้ำใหม่ที่เพิ่งรู้จักกันก็ได้ครับ อยากให้เข้าใจก่อนว่า สองน่านน้ำแรก มุ่งไปที่ ทำยังไงให้ขายได้ เมื่อมีความคิดแบบนั้นกันทั้งโลก บางครั้งจะก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา  ไม่ว่าจะเอาเปรียบ คู่แข่ง เอาเปรียบลูกค้า จึงเกิดกลยุทธ์นี้ขึ้นมา คือจะพัฒนาตัวเรา ดำเนินกิจการด้วยจริยธรรมและคุณธรรม เช่น Mcdonald จัดกิจกรรมให้เด็กด้อยโอกาส เป็นต้น สำหรับคนที่ทำ น่านน้ำสองแบบด้านบน คุณจะทำกลยุทธ์ด้านนี้บ้างก็ไม่เสียหายครับ Give ก่อนแล้วค่อย Get ก็ทำให้สังคมน่าอยู่และทำให้ภาพลักษณ์ดีด้วยครับ
  4. กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว (Green Ocean Strategy) ถ้าใครมาสายทำงานในบริษัท หรือ โรงงาน อาจจะคุ้นเคยกับเรื่องกรีนๆ แบบนี้นะครับ นั่นก็คือ กลยุทธ์ที่จะพัฒนา แบรนด์ สินค้า โดยเลือกช่องทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจาก ดีต่อโลกแล้ว ยังจะดึงตลาดจากกลุ่มคนที่บริโภคแต่ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้อีกด้วย และถือว่าเป็นกระแสสังคมที่ถ้าเราตามน้ำก็ยิ่งดีครับ เช่น ถ้าเรายังใช้กล่องโฟมอยู่ เราอาจจะสูญเสียโอกาสการขายของให้ลูกค้าที่แอนตี้ไปเลย หรือ บริษัทรถทั้งหลาย ก็ทยอยพัฒนารถประหยัดพลังงาน กันออกมาให้เห็นตลอด
blue red white green

สุดท้ายนี้นะครับ ถ้าเราอยากจะประสบความสำเร็จ เราต้องเข้าใจในตัวสินค้า และตลาดของเราให้มาก สำรวจคู่แข่ง (แค่เซิร์จกูเกิ้ลก็จะเจอแล้วครับ ว่าใครคือคู่แข่งคุณบ้าง) ทำการบ้าน วางแผนดีๆ เพื่อให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จ แต่ความสำเร็จด้านการขาย การเงิน มันอาจจะไม่ได้ทำให้คุณรู้สึกมีความสุขนะครับ ดังเช่นหลายคน ที่ถูกเงินครอบงำ จากมนุษย์เงินเดือน เดือนละหมื่น มาสู่แม่ค้าได้เงินเดือนละแสน แต่กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว สุดท้ายก็ไม่มีความสุข ดังนั้น น่านน้ำสองอย่างหลังถูกสร้างขึ้นมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก ผมจึงขอฝากไว้หน่อยนะครับ ถ้าคุณสำเร็จคนเดียวในโลก แต่ทุกคนในโลกแย่ลง ยากจนลง สิ่งแวดล้อมเสื่อมทรามลง สุดท้ายคุณก็จะอยู่ไม่ได้ ถ้าเป็นไปได้ ให้พิจาณากลยุทธ์ของ น่านน้ำ สีขาวและเขียว ไว้บ้าง เพื่อความสุขของตัวคุณเองและสังคมนะครับ

จบแล้วนะครับ หวังว่าคงช่วยได้ ไม่มากก็น้อย และสำหรับใคร อยากได้ แฟนเพจ เว็บไซต์ โลโก้ สวยๆ
ทักมาได้เลยนะครับ แกะหวาน รับทำแฟนเพจ เว็บไซต์ โลโก้
http://sweetsheepwebdesign.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น