วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

หนี คือ ยอดกลยุทธ์

หนี คือ ยอดกลยุทธ์

อย่าเพิ่งตกใจว่า เราจะ แนะนำให้ คุณหนี ไปไหนนะครับ การทำธุรกิจ เราต้องรับผิดชอบ สิ่งที่เราทำ ภาระหน้าที่ ของเรา  ไม่ใช่ หลบลูกค้า ปิดเพจหนี อะไรแบบนี้ แต่หนี ที่ผมพูดถึงคืออะไร จะมาอธิบายให้ฟังครับ
ยอดกลยุทธ์
กลศึก ของ สามก๊กนั้น มี 36 กลยุทธ์
และกลยุทธ์ สุดท้าย ก็คือ การหนีนี่เอง ซึ่งหมายความถึงเมื่อทำการศึก หากศัตรูมีกำลังมากกว่า แข็งแกร่งกว่า ชำนาญสถานที่ ภูมิศาสตร์ เป็นต่อในทุกๆ ด้าน ไม่มีช่องที่จะให้เราพลิกชนะ ถ้าดึงดันต่อสู้ ก็จะมีแต่สูญเสีย การหนี จึงเป็นทางออกที่ดี คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า “ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม” ซึ่งชี้ไว้ชัดเจนว่าการหนี ไม่ผิด แต่เป็นเรื่องปกติธรรมดา นอกจากนี้ยังมีคำ กล่าวอีกว่า “การพ่ายแพ้คือการล้มเหลวในทุกด้าน การยอมสงบศีกกัน เป็นการล้มเหลวบางด้าน การหนีมิได้หมายความว่าล้มเหลวเลย” ดังนั้นการหนี ถือว่าเป็นกลยุทธ์ ที่ควรทำในกรณีที่สู้ไม่ไหว แล้วค่อยหาทางตอบโต้ในภายหลัง
แล้วธุรกิจในปัจจุบันล่ะ หนี ยังไง
การทำธุรกิจ ก็ต้องมองทางลง มองทางออกไว้เสมอ ส่วนตัวก็เคยทำธุรกิจที่คาดหวังว่าจะสำเร็จ โดยไม่เผื่อใจว่ามันจะล้มเหลวมาแล้ว พอถึงวันที่ไปต่อไม่ไหวจริงๆ ก็เลยขาดทุนหนักครับ เลยได้บทเรียนว่า การทำการใดทุกครั้ง ก็ควรมองหาทางออกด้วย เช่น มองงบการเงิน ว่า ถ้าทำแล้วขาดทุนเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ จะเลิก จะขายวัสดุ อุปกรณ์ อย่างไร เพื่อให้รอดปลอดภัย ได้ดีที่สุด
นอกจากนี้ การที่เราทำธุรกิจแล้ว แย่ลงๆ ไม่ว่าจะเป็นเพราะ คู่แข่ง แข็งแกร่ง เชี่ยวชาญกว่า หรือว่า สถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนไป เราก็ต้องคิดวิธีที่จะทำให้รอดปลอดภัย เจ็บน้อยๆ เอาไว้ เช่น ร้านเช่าวีดีโอ พอถึงยุคที่คนเลิกใช้วีดีโอ ก็ต้องตามเทคโนโลยี รู้ว่าเขาเปลี่ยนไปใช้ CD กันแล้ว ก็เตรียมตัวหนี และเปลี่ยนแนวธุรกิจไป (ร้านแถวบ้านผม เปลี่ยนจากร้านเช่าวีดีโอ เป็นเช่าซีดี และปัจจุบันเป็นร้านคอมไปแล้ว ถือว่าเปลี่ยนได้เก่งมากครับ)
สุดท้าย คำว่าหนี ไม่ใช่หนีไปตลอดครับ มันคือการหนีชั่วคราว หรือหลบหลีกเท่านั้น เพื่อรอวันที่กลับมายิ่งใหญ่ให้ได้ ใครที่มีปัญหารุมล้อม ก็ใจเย็นๆนะครับ ทุกปัญหามีทางออก ถ้าใครสู้แล้วจะตายก็หนีครับ ถ้าใครหนีรอดปลอดภัยแล้ว ก็ขอให้พบทางที่จะกลับมาสู้อีกครั้งให้ได้นะครับ เป็นกำลังใจให้ทุกๆคน

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การสร้างแบรนด์ 4 – เลือกสีของ แบรนด์สินค้า

การสร้างแบรนด์ 4 – เลือกสีของ แบรนด์สินค้า

การสร้างแบรนด์ คือหนทาง ที่ดีที่สุด ของการทำ ธุรกิจแบบยั่งยืน ตามที่ได้ กล่าวไว้แล้ว ในบทความ ก่อนหน้านี้ ซึ่ง แกะหวาน เขียนบทความนั้น ไว้นานแล้วครับ ไม่มี เวลามาต่อ เรื่องการสร้างแบรนด์เลย เพราะ ค่อนข้างยาก ที่จะสรุปเรื่องออกมา ให้เข้าใจง่าย ช่วงนี้พอจะ เริ่มเขียนก็เลย ตั้งใจ จะเขียนออกมา หลายบทความหน่อย ติดตามกัน ให้ดีๆนะจ๊ะ
บทความนี้ คือเรื่องของ สี ของ แบรนด์สินค้า การสร้างแบรนด์ ก็คือ การที่ทำให้ ลูกค้าจดจำเรา และสี ก็ เป็นจุดเด่น ที่ทำให้ จำง่าย เช่นกัน สี จึงถูกนำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบ สื่อต่าง เว็บไซต์ โลโก้ หรือ ใช้ออกแบบ ตัวผลิตภัณฑ์ ไปใน ธีมเดียวกัน เพื่อทำให้ เกิดภาพจำ ในใจลูกค้า ได้ง่ายขึ้น หลายๆครั้ง เราจะเห็นว่า แบรนด์สินค้า ใหญ่ๆ เลือกใช้สี ที่ต่างกัน เพื่อแบ่งฝ่ายกัน ชัดเจน เหมือนกีฬาสี ไปเลย
สร้างแบรนด์

นอกจากนั้น สมอง ของคนเรานั้น จะถูก ชักจูงได้โดยสิ่งเร้า ต่างๆ ซึ่ง สี ก็คือ สิ่งเร้า หนึ่งที่นิยมเอามาใช้กัน เมื่อเรา มองไป ที่สีใดๆแล้ว ก็จะ เกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ดังนั้น จึงมีการประยุกต์ เรื่องสี ไปใช้ ในการสร้างแบรนด์ โดย เลือกสีที่ ให้อารมณ์ ที่เรา อยากให้ ลูกค้า รู้สึก กับเรา
มีทฤษฎี ในการเลือก ดังนี้
  1. แม่สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน จะกระตุ้น ให้คน สนใจ ได้มากกว่า สีอื่นๆ
  2. สีที่ ไม่ใช่แม่สี ให้ความรู้สึก สบายกว่า แม่สี
  3. เด็กๆจะไม่สนใจ สีอ่อนๆ จะชอบ สีแนวแม่สี (ลองเข้าไปดูงาน ออกแบบ ของแกะหวานได้)
  4. สีฟ้า ให้ความรู้สึก สบาย สีน้ำเงิน ก็จะเป็น สีที่ดู มาตรฐาน น่าดู น่าอ่าน
  5. สีเหลือง ร่าเริง สนุกสนาน
  6. สีส้ม ให้ความรู้สึก น่ากิน
  7. สีแดง รู้สึก ถึงพลัง
  8. สีดำ ให้ความรู้สึก ลึกลับ หรูหรา น่าสนใจ
  9. สีทอง ให้ความรู้สึก หรูหรา มีค่า
แกะ coloful แบรนด์สินค้า
แต่ ความหมาย ของสี ก็อาจจะ แตกต่าง กันไป ตามสถานที่ วัฒนธรรม ต่างๆ เช่น สีดำบางที่ อาจจะมองว่า เป็นสีของมนต์ดำ ความตาย (ในไทย ก็อาจจะต้อง หลีกเลี่ยงสี การเมือง ในบางโอกาส)
เมื่อคุณพร้อมที่ จะเลือกสีของ แบรนด์สินค้า แล้ว ลองพิจารณา ตามนี้
  1. สีอะไร จึงจะ หมายถึง บุคลิกของ แบรนด์สินค้า ของคุณ
  2. สีอะไร ที่เหมาะสม กับ ลักษณะของสินค้า และ บริการ ของคุณ
  3. สีที่ คู่แข่งใช้ เป็นอย่างไร (ถ้าไป เหมือนของเขา คนมา ทีหลัง ก็จะถูก ลดความเด่นไป)
เมื่อเลือก ได้แล้ว ก็อยากจะให้ พิจารณาไว้ด้วยว่า สี เป็นเพียง แค่ปัจจัยหนึ่ง เท่านั้น ที่สำคัญ กว่าคือเรื่องราว ที่เราจะเอาไปใส่ ในนั้น เช่น ธนาคาร ของเมืองไทย (มีกัน หลายสีมาก) ยกตัวอย่าง ธนาคาร กสิกรไทย ใช้ สีเขียว เพราะ เป็นสี ของต้นไม่ที่งอกเงย (ปีที่สร้างก็เป็น ธาตุไม้) เป็นต้น
จบแล้วครับ สำหรับ บทความ เรื่องสี ของแบรนด์ หวังว่าคงช่วยให้ท่าน ตัดสินใจ อะไรได้ง่าย ขึ้นนะครับ เรื่องแบรนด์นี่ ถ้าจะให้พูดกัน คงไม่มีทางจบครับ แต่เราจะหยิบเอาที่สำคัญๆ มาให้ได้พัฒนาแบรนด์ กันอีกนะครับ อย่าลืมติดตาม แกะหวาน (colorful) กันต่อนะครับ

ที่มา แกะหวานรับทำเพจ

สุดท้ายกว่า โฆษณาตัวเองหน่อยนึง 555 (อีกแล้ว)
แกะหวาน รับทำแฟนเพจ ตกแต่งแฟนเพจ เว็บไซต์ โลโก้ และอื่นๆ ไม่รู้จะเปิดร้านยังไง ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นขายของออนไลน์ยังไง ปรึกษาเราได้เลยครับ

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง

กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง Differentiation strategy

รูปแบบกลยุทธ์ การแข่งขันนั้น นำเสนอโดย Michael E. Porter (ศาสตราจารย์ ม.ฮาร์วาร์ด) เป็นนักกลยุทธ์ที่ทั่วโลกยอมรับ เขากล่าวว่า กลยุทธ์การแข่งขันนั้น มีแค่สองอย่างเท่านั้น คือ
กลยุทธ์ราคาต่ำ หมายถึง ขายสินค้าด้วยคุณภาพดีแต่ราคาต่ำกว่า
กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง หมายถึง ขายคุณค่า คุณสมบัติ หรือบริการ ที่เหนือกว่า
นอกจากนี้ยังแบ่งตามเป้าหมายซึ่งก็คือ ตลาดใหญ่ หรือ ตลาดเล็กอีกด้วย แต่ในที่นี้ยังไม่พูดถึง
สำหรับ บทความนี้ จะพูดถึง กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง differentiate เท่านั้น
เพราะการลดราคาแข่งกันนั้น จะต้องมีทั้งเงินทุน และความรู้ในธุรกิจเป็นอย่างดี ซึ่งในปัจจุบันการลดราคาแข่งกันนั้น ลดโดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพของตลาดของตนเลย เช่น ซื้อผักมาขาย ต้นทุน 10 บาทต่อกิโลกรัม ราคาขายทั่วไปขาย 20 บาท พอคนขายร้านใหม่มา ก็คิดว่าตัวเองลดเหลือ 15 บาท ก็จะดึงคนมาได้ แต่ความจริงแล้ว ผักที่ซื้อมา ไม่กี่ชม.น้ำก็ระเหย น้ำหนักหายไป มีของที่ขายไม่หมดเน่าเสีย แถมมีต้นทุน คนงาน ค่าที่ สุดท้ายก็ไม่ได้กำไร ตายกันทั้งเจ้าใหม่เจ้าเก่า
สรุปก็คือ เมื่อ “ไม่ต่าง” และหาทางออกโดยแห่กันลดราคาแบบไม่มีความรู้ สุดท้ายแล้ว ก็ คือ “ออกจากตลาดไป”

ดังนั้น ทางออกที่จะทำให้ร้านเราเป็นผู้ชนะได้ ก็คือ การสร้างความต่างนั่นเอง
กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง
ถ้าทุกคนนั่งขาย เรายืนขาย เราก็เด่น
คนอื่นขายเครื่องสำอาง เราขายและแถมทริคแต่งหน้า เราก็เด่น

ทำไมต้อง Differentiation
นอกจาก จะสร้างความต่างได้แล้วข้อดีอีกอย่างคือ เราจะสามารถตอบลูกค้าได้ว่า ทำไมเราถึงแพงกว่า เราจะสามารถตั้งราคาได้เหมาะสม หลีกเลี่ยง การแข่งขันด้านราคาของคนอื่นๆ (ที่ลดกันอย่างไม่คิด ทำตลาดเสีย)
ที่สำคัญที่จะต้องเข้าใจ จุดมุ่งหมายของ “ กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง ” คือ
-เพื่อให้เกิดคุณค่า (ในสายตาของลูกค้า ไม่ใช่สายตาตัวเอง) ให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับสิ่งพิเศษ (Extra Benefit) กว่าร้านอื่นทั่วไป
-เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน กับคู่แข่ง
ดังนั้น การที่เราจะวางแผนสร้าง กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง นั้น เราจะต้องพิจารณา ดังนี้
  1. ให้ความสำคัญ
  2. ต้องโดดเด่น
  3. ต้องเหนือกว่า
  4. เริ่มก่อนคนอื่น
  5. ลูกค้าเป้าหมายต้องซื้อได้
  6. ต้องได้กำไร
ถ้าเราไม่พิจาณาสิ่งเหล่านี้ การสร้างความต่างอาจจะเป็นหายนะก็ได้ เช่น ร้านอาหารบางร้าน สร้างจุดเด่นว่าเป็น “ร้านปากหมา” ชอบด่าลูกค้าเป็นกิจวัตร สร้างความโดดเด่นได้ อาจจะทำให้มีคนมากินพิสูจน์ความดุ แต่สุดท้ายลูกค้าก็ขยาดที่จะไปเสี่ยงโดนด่า เพราะรู้สึกว่าเหมือนไปง้อกิน จนต้องเลิกกิจการไป ดังนั้นต้องระวังให้ดีนะครับ
เมื่อเราเข้าใจ กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง นี้แล้ว เราก็มาลองพิจารณาดูว่า ธุรกิจเราจะสร้างความต่างจากตรงไหนได้บ้าง
  1. ด้านผลิตภัณฑ์ เช่น ปลากระป๋องยี่ห้ออื่นโฆษณาว่า รสชาติดี ปลาชิ้นใหญ่ เราก็สร้างความต่างโดยชูว่า ปลากระป๋องของเรา มี DHA ให้ประโยชน์มากมาย
  2. ด้านบริการ เช่น บริษัทรถทัวร์ สร้างเบาะที่สามารถนวดได้ โตโยต้า ฮอนด้า ที่ชูเรื่องบริการหลังการขาย และศูนย์บริการมากมาย
  3. ด้านบุคลากร เช่น มีการจัดเทรนพนักงานรับโทรศัพท์ ให้ตอบทุกสายให้ลูกค้าประทับใจ
  4. ด้านช่องทางการขาย เช่น สามารถสั่งซื้อได้ผ่านทางเว็บไซต์ ขณะที่ร้านอื่นขายทางหน้าร้านอย่างเดียว
  5. ด้านภาพลักษณ์ เช่น สร้างโลโก้ ที่แตกต่าง โดดเด่น สร้างกิจกรรมให้ดูเป็นองค์กรที่ให้กำไรคืนสังคม
สังเกตว่าแม้จะแบ่งได้หลายข้อ แต่จริงๆก็แบ่งได้เป็นทางกายภาพ คือตัวสินค้า วัตถุต่างๆ และ ด้านจิตวิทยา นั่นเอง
สุดท้าย แล้วอยากจะฝากให้ทุกคนที่ทำธุรกิจค้าขาย ถ้าสิ่งที่เราทำแค่เป็นการนำสิ่งที่คนอื่นทำ มาทำบ้างแล้วล่ะก็ จะเป็นการยากมากที่เราจะประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราลอกแบบของคู่แข่งเราอีกก็ยากที่จะแซงหน้าคนที่ทำตลาดมาก่อนเรา ด้วยวิธีการเดียวกับเขา ในธุรกิจทุกวันนี้ ถ้าใครไม่ต่าง อาจจะไม่สามารถเติบโตได้เลย ดังนั้นควรจะใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทำสิ่งใหม่ๆ ที่น่าสนใจ ขอให้ประสบความสำเร็จครับ
สุดท้ายกว่า โฆษณาตัวเองหน่อยนึง 555
แกะหวาน รับทำแฟนเพจ ตกแต่งแฟนเพจ เว็บไซต์ โลโก้ และอื่นๆ ไม่ว่าจะปก twitter google+ Line shop ไม่รู้จะเปิดร้านยังไง ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นขายของออนไลน์ยังไง ปรึกษาเราได้เลยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กลยุทธ์ น่านน้ำ ถ้าไม่รู้จักสินค้าตัวเอง ก็ยากจะสำเร็จ

กลยุทธ์ น่านน้ำ (Ocean)

จากบทที่ผ่านๆมา เราได้สนับสนุนให้ทุกท่านที่ขายของ หรือสร้างแบรนด์ ได้ทำการวางแผน วางกลยุทธ์ แต่สิ่งหนึ่งที่เรายังไม่ได้อธิบาย นั่นก็คือ สินค้าของคุณ เป็นแบบไหน และควรจะวางแผนอย่างไรครับ เพราะว่าสินค้าต่างประเภท ต่างตลาด การวางแผนก็จะต้องต่างกันไป คราวนี้จึงมาอธิบาย การแบ่งกลยุทธ์ของสินค้าในแต่ละแบบครับ เรื่องนี้ก็คือเรื่องของ แนวคิด น่านน้ำ
น่านน้ำ

แนวคิดน่านน้ำนั้น หลายคนอาจจะพอรู้จักอยู่บ้าง โดยเฉพาะ Blue และ Red แต่ปัจจุบันมีเพิ่มออกมาบ้าง เราลองมาดูกันว่า แต่ละชนิดเป็นอย่างไร
  1. กลยุทธ์ น่านน้ำสีฟ้าหรือคราม (Blue Ocean Strategy) คือกลยุทธ์เพื่อสร้างความแตกต่าง ให้กับสินค้าและแบรนด์ โดยการคิดนอกกรอบ คิดใหม่ หาช่องว่างของธุรกิจ หรือก็คือ ตลาดที่คู่แข่งไม่มากนั่นเอง ธุรกิจประเภทนี้เอื่อยไม่ได้นะครับ จะต้องหาอะไรมาพัฒนาตัวเองตลอด เพื่อนำในสิ่งที่คนอื่นไม่เคยเจอ พูดง่ายๆคือ กลยุทธ์นี้ คือกลยุทธ์ของสินค้า ที่เป็นของใหม่ คู่แข่งน้อย ทุกกลยุทธ์ที่ทำ มีจุดประสงค์ให้ลูกค้าสนใจ และหันมาใช้ สินค้าและบริการของคุณ เช่น ในอดีตคนชอบดื่มน้ำอัดลมกันมาก อยู่ดีๆ ก็มีบางจ้าวออกมาเปิดตัวชาเขียว ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมาก (และต่อมาเมื่มีคนกระโดดเข้ามามาก น่านน้ำนี้ก็เปลี่ยนสีไป)
  2. กลยุทธ์ น่านน้ำสีแดง (Red Ocean Strategy) คุณจะเห็นได้ทั่วไปเลย และผมมั่นใจว่า คนส่วนใหญ่ที่มาอ่าน และขายของออนไลน์กันเนี่ย ก็เป็นคนขายสินค้า ประเภทนี้กันเยอะ สินค้าประเภทนี้ คุณอาจจะเคยได้ยินเวลาคุยกันเพื่อน “เฮ้ย จะขายอันนี้เรอะ มันเรดแล้วนะ” เรดที่ว่าก็คือ Red Ocean นั่นเอง ตลาดแดงเดือด คู่แข่งเยอะมากๆ อาจจะเป็นของที่มีอยู่มั่วไป ไม่แตกต่าง ไม่ซื้อร้านคุณเขาก็ซื้อร้านอื่นได้ ไม่แตกต่าง มีแหล่งวัตถุดิบที่หาง่าย ใครๆก็คิดจะขาย หรือเป็นพวกดาวน์ไลน์ ไม่มีสต็อก สินค้าที่รับตัวแทนจำหน่าย ทั้งหลาย ซึ่งการที่คุณจะมาขายสินค้าประเภทนี้ คุณจะสบายใจได้เลยว่า “มีคนต้องการซื้อของแน่นอน” แต่ข้อเสียก็คือ คนมาขายเหมือนคุณน่ะเยอะแน่ๆ ดังนั้น จุดประสงค์ของการวางแผนก็คือ ทำให้คุณสามารถดึง ส่วนแบ่งการตลาด (Market share) ให้ได้สูงๆ ดังนั้นกลยุทธ์ที่จะต้องทำคือ ทำอย่างไรถึงจะดึงลูกค้าจากคู่แข่งมาให้ได้ เช่น เสื้อผ้าเซลล์ปลายปี หรือ ชาเขียว (ที่ตอนนี้ไม่บลูแล้ว) มีกลยุทธ์ส่งรหัสใต้ฝาลุ้นรถ (เปอร์เซ็นต์ได้ต่ำกว่าถูกหวย แต่คนก็ยินดีจะซื้อมากขึ้น หรือเปลี่ยนจากหยิบยี่ห้ออื่น มาหยิบยี่ห้อนี้แทน)
  3. กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว (White Ocean Strategy) ถือว่าเป็นน่านน้ำใหม่ที่เพิ่งรู้จักกันก็ได้ครับ อยากให้เข้าใจก่อนว่า สองน่านน้ำแรก มุ่งไปที่ ทำยังไงให้ขายได้ เมื่อมีความคิดแบบนั้นกันทั้งโลก บางครั้งจะก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา  ไม่ว่าจะเอาเปรียบ คู่แข่ง เอาเปรียบลูกค้า จึงเกิดกลยุทธ์นี้ขึ้นมา คือจะพัฒนาตัวเรา ดำเนินกิจการด้วยจริยธรรมและคุณธรรม เช่น Mcdonald จัดกิจกรรมให้เด็กด้อยโอกาส เป็นต้น สำหรับคนที่ทำ น่านน้ำสองแบบด้านบน คุณจะทำกลยุทธ์ด้านนี้บ้างก็ไม่เสียหายครับ Give ก่อนแล้วค่อย Get ก็ทำให้สังคมน่าอยู่และทำให้ภาพลักษณ์ดีด้วยครับ
  4. กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว (Green Ocean Strategy) ถ้าใครมาสายทำงานในบริษัท หรือ โรงงาน อาจจะคุ้นเคยกับเรื่องกรีนๆ แบบนี้นะครับ นั่นก็คือ กลยุทธ์ที่จะพัฒนา แบรนด์ สินค้า โดยเลือกช่องทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจาก ดีต่อโลกแล้ว ยังจะดึงตลาดจากกลุ่มคนที่บริโภคแต่ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้อีกด้วย และถือว่าเป็นกระแสสังคมที่ถ้าเราตามน้ำก็ยิ่งดีครับ เช่น ถ้าเรายังใช้กล่องโฟมอยู่ เราอาจจะสูญเสียโอกาสการขายของให้ลูกค้าที่แอนตี้ไปเลย หรือ บริษัทรถทั้งหลาย ก็ทยอยพัฒนารถประหยัดพลังงาน กันออกมาให้เห็นตลอด
blue red white green

สุดท้ายนี้นะครับ ถ้าเราอยากจะประสบความสำเร็จ เราต้องเข้าใจในตัวสินค้า และตลาดของเราให้มาก สำรวจคู่แข่ง (แค่เซิร์จกูเกิ้ลก็จะเจอแล้วครับ ว่าใครคือคู่แข่งคุณบ้าง) ทำการบ้าน วางแผนดีๆ เพื่อให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จ แต่ความสำเร็จด้านการขาย การเงิน มันอาจจะไม่ได้ทำให้คุณรู้สึกมีความสุขนะครับ ดังเช่นหลายคน ที่ถูกเงินครอบงำ จากมนุษย์เงินเดือน เดือนละหมื่น มาสู่แม่ค้าได้เงินเดือนละแสน แต่กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว สุดท้ายก็ไม่มีความสุข ดังนั้น น่านน้ำสองอย่างหลังถูกสร้างขึ้นมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก ผมจึงขอฝากไว้หน่อยนะครับ ถ้าคุณสำเร็จคนเดียวในโลก แต่ทุกคนในโลกแย่ลง ยากจนลง สิ่งแวดล้อมเสื่อมทรามลง สุดท้ายคุณก็จะอยู่ไม่ได้ ถ้าเป็นไปได้ ให้พิจาณากลยุทธ์ของ น่านน้ำ สีขาวและเขียว ไว้บ้าง เพื่อความสุขของตัวคุณเองและสังคมนะครับ

จบแล้วนะครับ หวังว่าคงช่วยได้ ไม่มากก็น้อย และสำหรับใคร อยากได้ แฟนเพจ เว็บไซต์ โลโก้ สวยๆ
ทักมาได้เลยนะครับ แกะหวาน รับทำแฟนเพจ เว็บไซต์ โลโก้
http://sweetsheepwebdesign.com/

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

รับทำแฟนเพจ เว็บไซต์ โลโก้ แบบ แกะหวาน

รับทำแฟนเพจ แบบแกะหวาน

บทความหมวดหมู่ใหม่นี้ ไม่ได้มีสาระแต่อย่างใด 555 (คำเตือน) สำหรับผู้ที่อยากทราบถึงการทำธุรกิจออนไลน์ คลิกดูหมวดหมู่อื่นได้เลย แต่สำหรับ บทความหมวดนี้ ก็จะมาอธิบายมั่ง เพ้อเจ้อมั่ง ถ้าใครอ่านแลวมาจ้างเรา ออกแบบแฟนเพจ ก็จะสามารถเข้าใจตรงกันนะจ๊ะครับ
สิ่งที่เป็นปัญหา ต่อการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ระหว่าง ผู้ว่าจ้าง และแกะหวานเรา ก็คือ ธีม ของแฟนเพจนั่นเอง ตามหลักพจนานุกรม ว่าไว้ ธีมก็คือ แก่น แนว ธีมของเพจก็คือ แนว ภาพรวม ของเพจ ว่าให้อารมความรู้สึกใด ซึ่งการตีความธีม ก็คือความรู้สึก อารมณ์ล้วนๆ และอารมณ์คน การตีความของคนนั้นต่างกันมาก จากที่เรา รับทำแฟนเพจ มาได้สักระยะ ก็เคยเจอเช่น ลูกค้าบอกว่าต้องการแนวสวยๆ แต่พอเราทำอารมณ์ที่เราคิดว่าสวย ลูกค้าก็เห็นว่าดูหรูไป เราเลยใส่อารมณ์ น่ารัก แบ๊วๆ เข้าไป ลูกค้าก็ชอบใจ
ดังนั้น บทความนี้ เราก็นำเสนอ ตัวอย่างแบบ แบบคร่าวๆ มา ย้ำว่า เป็นความคิดเห็น เป็นการตีความจาก “แกะหวาน รับทำแฟนเพจ” เท่านั้น คนอื่นอาจจะตีความแบบอื่นๆ อีกมากมาย มันเป็นฟีลลิ่ง
แบบแรก แนวที่ลูกค้าวัยรุ่น ใช้งานกันมากที่สุด แบบ น่ารัก
รับทำแฟนเพจ
ถ้าแบ๊วมาก ก็บอกกันได้นะ
smile-kids1.jpg
น่ารัก มีนางแบบเกาหลี หรือ ตัวการ์ตูนล้วน
รับทำแฟนเพจ

รับทำแฟนเพจ แบบที่สอง แนว สวย ของใช้ความงาม
รับทำแฟนเพจ

รับทำแฟนเพจ แบบที่สาม หรูๆ
รับทำแฟนเพจ
อันนี้นางแบบฝรั่ง
รับทำแฟนเพจ

รับทำแฟนเพจ แบบที่สี่ เก๋ๆ
รับทำแฟนเพจ

รับทำแฟนเพจ

รับทำแฟนเพจ แบบที่ห้า แนววินเทจ
รับทำแฟนเพจ
นอกจากนี้ สามารถเลือกแนวทางการ แนวผสมๆ กึ่งสวย กึ่งหรู หรือ น่ารักเกาหลี แต่ฉากหลังวินเทจ อะไรก็ได้ ตามที่ต้องการ
รับทำแฟนเพจ
รับทำแฟนเพจ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่กล่าวมาเป็นแนวของเราเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่หลักการสากลใดๆ ถึงจะไม่ได้อ่านบทความ เราพูดคุยกัน หรือเอาตัวอย่างให้ ส่วนใหญ่ก็เข้าใจได้ครับ ว่าท่านต้องการแนวไหน จากที่ผ่านมาก็มีน้อยครับ ที่สับสนกัน อย่างไรก็ดี แกะหวาน รับทำแฟนเพจ ก็จะพยายาม ทำงาน ปรับปรุงผลงาน ให้ดีขึ้น เพื่อลูกค้า ที่ต้องการเพจสวยๆ ต่อไป ตราบชั่วกัลปว…(นี่ก็เว่อร์ไป) ขอบคุณทุกคนที่เข้าใจ ขอบคุณลูกค้าที่กลับมาใช้บริการ ขอบคุณมากๆๆๆๆๆ ทุกคนเลยนะครับ
สนใจ ใช้บริการ แกะหวาน รับทำแฟนเพจ ติดต่อเรานะครับ

วางแผนธุรกิจ 3 ระยะ

วางแผนธุรกิจ 3 ระยะ

หลายคนนะครับ เริ่มต้นชีวิต หาเงินเองด้วยการ เป็นมนุษย์เงินเดือน พอได้ไตร่ตรองดูแล้วก็คิดว่า อยากจะมีธุรกิจส่วนตัว เมื่อกระโดดเข้ามาทำธุรกิจ ปรากฏว่า คิดถึงสมัยที่เป็นพนักงานเงินเดือน อยากกลับมาทำงานบริษัทซะงั้น เพราะว่า สิ่งที่เขาทำอยู่ในปัจจุบัน คือ ขายของไปวันๆ ไม่ได้เติบโตเลย ได้เงินมาเป็นเดือนๆ ไม่ต่างจากสมัยเป็นพนักงานเท่าไหร่นัก หยุดขาย รายได้ก็ลด เพื่อนก็น้อยไม่เหมือน ตอนมีพวกเพื่อนขาเม้าส์ เฮฮากัน ในบริษัท ซ้ำร้าย อย่าว่าแต่ขายของไปวันๆ เลยครับ รายได้น้อยกว่าตอนเป็นพนักงานซะอีก หรือไม่ก็ติดลบ สิ่งที่พวกเขาขาด นอกจากเงิน หรือความสุข แล้ว นั่นก็คือ การวางแผน ที่ดีนั่นเอง
วางแผนธุรกิจ
วันนี้ แกะหวาน จึงจะมาพูดถึงเรื่อง การวางแผน 3 ระยะ ซึ่งจะทำให้เรากำหนดทิศทางของธุรกิจของเรา จะได้ไม่ต้องทำงานไปวันๆ
การ วางแผนธุรกิจ 3ระยะ ก็คือการวางแผน ตั้งแต่ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายที่เราต้องการภายในระยะเวลาที่กำหนด
แผนระยะสั้น นั้นเป็นการวางแผน ที่ต้องทำใน ปัจจุบัน (โดยมากจะวางไว้ภายใน 1 ปี) ซึ่งหลายคนที่ทำธุรกิจอาจจะทำอยู่ โดยไม่รู้ตัว โดยจะมุ่งเน้นในการ พัฒนาร้าน พัฒนาสินค้า สร้างตลาด แข่งขันกับคู่แข่ง พูดง่ายๆก็คือ ทำระบบของธุรกิจของเราให้ลงตัว ทำให้ขายของ ให้ได้นั่นเอง ระยะนี้ ก็สามารถชี้วัด ได้ระดับหนึ่ง ว่าเราจะทำต่อหรือไม่ เช่น กำหนด 1 ปี กับเงินทุนหนึ่งก้อน ถ้าเงินหมดก้อนนี้ หรือ ผ่านหนึ่งปี ยังไม่สามารถทำกำไรได้ ก็ถอยตัวออกมา เป็นต้น
สำหรับ แผนธุรกิจ ระยะปานกลาง เป็นการวางแผนเพื่อให้ ธุรกิจเรา โตขึ้น ขยายขึ้น โดยจะต้องใช้เวลา ดำเนินการ นานกว่าระยะสั้น (อาจจะเป็นแผนช่วง 1-3 ปี) เช่น ถ้าเราซื้อของมาขายในเพจครบปี มีฐานลูกค้ามากพอสมควรแล้ว เราก็เริ่มสร้างสินค้าแบรนด์ตัวเองออกมา หรือ การเพิ่มเครื่องจักรชุดใหม่ การขยายตลาด ไปต่างประเทศ เป็นต้น
แผนธุรกิจ ระยะยาว เป็นการวางแผน ตั้งแต่ 3-5 ปีขึ้นไป  โดยแผนนี้ จะกำหนดทิศทาง ของธุรกิจเรา ว่าสุดท้ายแล้วจุ ดมุ่งหมายของเราจะไปสู่จุดไหน ซึ่งมันอาจจะยิ่งใหญ่มากก็ได้ เช่น ตั้งไว้ว่าภายใน 5 ปี หลังจากสร้างสินค้าแบรนด์ตัวเองแล้ว จะเป็นผู้นำตลาด ขายดี อันดับหนึ่ง ให้ได้ หรือ จากขายของ สร้างแบรนด์แล้ว สุดท้าย จะขายสินค้า ในรูปแบบ แฟรนไชส์ เป็นต้น

เมื่อเรารู้แล้วว่า ระยะต่างๆ มีอะไรบ้าง เราก็มาเริ่ม วางแผนกัน โดยอาจจะ ลองจากระยะยาวก่อน แล้วมาเขียนระยะสั้น ระยะยาว อาจจะ เป็นแผนฝันหวาน สิ่งที่เราอยากจะมี อยากจะเป็น แต่ต้อง วิเคราะห์ดีๆนะครับว่า ถ้าถึงจุดนั้นแล้ว คุณจะมีความสุขหรือเปล่า จำไว้ว่า ต้องเป็นสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ ไม่ใช่ว่าผิดตั้งแต่จุดหมายแล้ว เช่น วางแผนระยะสุดท้าย ว่าจะเปิดร้าน ที่ใหญ่ที่สุด ในจังหวัดมีลูกน้องเยอะ พอเอาเข้าจริง ลูกน้องเยอะ เรื่องเยอะ ปวดหัว งานไม่คล่องตัว เป็นต้น หลังจากนั้น ก็มาวางแผนระยะสั้น เพราะระยะสั้น นั้นคือปัจจุบันครับ ทำอย่างไรให้ปัจจุบันอยู่รอดให้ได้ ระยะยาววางแผนไว้ สวยหรูว่าจะเปิดร้านนู่นนี่ แต่ระยะสั้น กลับทำไม่ได้ แพ้คู่แข่ง ขาดทุน ก็ไม่ต้องไปถึงไหนกัน เสร็จแล้ว เราก็วางแผนระยะกลางซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนไปสู่ ความสำเร็จในระยะยาวครับ ในการวางแผนนั้น แต่ละแผนต้องสอดคล้องกัน อย่าให้ขัดกันนะครับ ทิศทางต้องชัดเจน กำหนดเวลา ก็ต้องชัดเจนเช่นกัน ไม่ใช่ว่า มานั่งรอ คาดหวัง รอให้มันดีซะก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนแปลงอะไร ถ้าเราทำอะไรเดิมๆ ก็อย่าคาดหวังผลลัพธ์ใหม่ๆครับ
หลังจากนั้น ใส่รายละเอียดให้กับแผนนะครับ ลงลึกไปขนาดถึงงบการเงิน หมุนเงินอย่างไร ทุนจะพอต่อยอดเมื่อไหร่ หลายคนที่วางแผนดีกระทั่งเรื่องเดินบัญชีธนาคาร พอมาถึง ช่วงแผนระยะยาว ก็สามารถกู้เงิน มาลงทุนใหญ่โตได้
สุดท้าย ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนครับ ฝันให้ใหญ่เข้าไว้ แต่ไม่เพ้อฝันครับ ลงมือ ใช้ความรู้ ความตั้งใจ เพื่อให้ถึงจุดนั้น ไม่มีก้าวแรก ไม่มีวันเดินถึง ขอให้ประสบความสำเร็จทุกคนครับ
สำหรับใคร ที่ต้องการสอบถาม หรืออยากทำการตลาดโดยใช้แฟนเพจสวยๆ
ทักมาได้เลยนะครับ แกะหวาน รับทำแฟนเพจ เว็บไซต์ โลโก้
http://sweetsheepwebdesign.com/

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการ ปิดการขาย

การ ปิดการขาย

ลูกค้ามาถึงแล้วเชียว ทำไมถึงไม่ซื้อ ทั้งๆที่สนใจ บอกว่าจะเอาชัวร์ แต่ก็หายไปเลย ถ้าคุณเจอปัญหานี้แปลว่า มันอาจจะเป็นปัญหาที่ตัวคุณ ไม่สามารถ ปิดการขายได้นั่นเองครับ วันนี้แกะหวาน จะเสนอ เทคนิคเล็กๆน้อยๆ สำหรับ คนที่อยากขายเก่งนะครับ
ขั้นแรก ใส่หน้ากากก่อนนะครับ แม้ว่าคุณเคยเป็นคนขี้อาย หรือ พูดไม่เก่ง แต่เมื่ออยากทำธุรกิจแล้ว จะต้องพูดให้เป็นครับ
และยิ่งไปกว่านั้นคนทั่วไปจะมีความรู้สึกว่า พ่อค้า แม่ค้า จะต้องมาง้อลูกค้า ทำให้มีความรู้สึก อาย เขิน เวลาตัวเองมาเป็นคนขายซะเอง และการเขินอาย พูดไม่เป็นเนี่ย ก็เป็นการขับไล่ลูกค้าได้ดีทีเดียว ดังนั้นคนที่จะเริ่มขาย ต้องเข้าใจก่อน ว่าพ่อค้า แม่ค้า นั่นแหละ เป็นอาชีพทำเงินเลย ไม่ต้องอาย ที่จะเป็นคนขาย สร้างความมั่นใจ ถ้าคุณเข้าใจแล้ว แต่ยังเขินเวลาพูดอยู่ ก็พยายามฝึกฝนครับ ใส่วิญญาณ คิดว่าเป็นคนอื่นก็ได้ ความมั่นใจ พูดฉะฉาน เป็นสิ่งสำคัญมาก

โดยทั่วไปการขายมี ขั้นตอน ดังนี้
1.การค้นหาลูกค้าใหม่ๆ  2. การสร้างความสัมพันธ์  3. การตัดสินใจเลือกลูกค้า(กรณีต้องเลือก)  4. นำเสนอการขาย  5. ปิดการขาย  6. ให้บริการลูกค้า
ซึ่งคราวนี้จะพูด เรื่องการ ปิดการขาย ซึ่งหมายถึงว่า เรากับลูกค้าตกลงซื้อขายกันเรียบร้อยแล้ว
ปิด2
เทคนิคมาจากตำราฝรั่งครับ แบ่งเป็น 8 ข้อ
1.การทำให้ลูกค้ายินดีตกลงด้วยตัวเอง
ใช้ในขณะที่มีการสนทนา เพื่อให้ตลอดเวลาเสนอขายนั้น ให้ความรู้สึกบวก นั่นคือลูกค้าจะต้องเห็นด้วย เช่น
คุณชอบสีไหนครับ? สินค้าของเรามี 3 ขนาด S M L ต้องการขนาดไหนครับ ?
(อย่าตั้งคำถามให้ลูกค้าปฏิเสธเราได้)

2. สรุปล่วงหน้าว่าลูกค้าตัดสินใจซื้อแล้ว (อันนี้ต้องเนียนนะครับ ชัดมากเกินไปก็ไม่ได้) เช่น
จะให้ส่งของไปให้ที่ไหนครับ?

3.  ปิดการขายด้วยการให้ลูกค้าตัดสินใจในเรื่องรอง
เทคนิคนี้ทำเพื่อเบนการตัดสินใจของลูกค้าจากเรื่องหลักมาเป็นเรื่องรองลงมา เช่น สินค้าเราแพงกว่าร้านอื่น เราก็ไม่ต้องพูดถึงมากนัก แล้วไปพูดเรื่องอื่นแทน เช่น ร้านเราสต็อกสินค้าเอง ไม่ใช่พรีออร์เดอร์ ถ้าสั่งก็ส่งได้ทันที เป็นต้น

4. การลดทางเลือกให้เหลือเท่าที่จำเป็น
เมื่อสินค้าเยอะ และลูกค้าจะต้องใช้เวลานานในการตัดสินใจ อาจจะต้องกลับไปคิดก่อน ซึ่งเมื่อถ้าเป็นแบบนั้น เขาจะกลับไปตัดสินใจระหว่างสินค้าหลายตัวของเรา และ สินค้าของร้านอื่นด้วยน่ะสิ ดังนั้น คนขายจะต้องใช้สมองอย่างเต็มที่ เพื่อทำความเข้าใจลูกค้า และ ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ว่าสินค้าไหนเหมาะกับลูกค้า เมื่อลดทางเลือกให้ได้อย่างเหมาะสม ก็มีสิทธิ ปิดการขาย ได้สูง 
5. นี่เป็นโอกาสสุดท้าย
คำเตือนว่าควรเป็นเรื่องจริงครับ อย่าโม้เกินไป ใช้บ่อยเดี๋ยวลูกค้าจะไม่เชื่อถือ (ดังนั้นจึงควรจัดโปรต่างๆ ไว้ส่งเสริมการขายควบคู่กันไป) เช่น
ตอนนี้เหลือตัวเดียวนะคะ
วันนี้วันสุดท้ายของโปรโมชั่นนี้นะครับ พรุ่งนี้จะเป็นราคาปรกติครับ

6. นำเสนอสิ่งจูงใจพิเศษ
เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อทันที  ตอนนี้เลย เช่น
โปรวันเกิดแม่ค้าเองค่า ซื้อวันนี้ 1 ฟรี 1
จองซื้อรถยนต์ในงานมอเตอร์โชว์ รับส่วนลดแสนนึง (เฉพาะการจองในงานเท่านั้น)

7. ขอออร์เดอร์จากลูกค้า
ปิดการขายด้วยการถาม จำนวนการสั่งซื้อ เช่น
โอเคครับ ผมเช็คแล้วเหลือ สิบชิ้น รับกี่ชิ้นดีครับ

8. ปิดการขายด้วยการขจัดข้อโต้แย้ง
เอาไว้ใช้ในกรณีที่ลูกค้ามีข้อโต้แย้งหลักเพียงข้อเดียว แล้วเราสามารถขจัดข้อโต้แย้งนั้นได้ด้วยคุณสมบัติของสินค้าเรา เช่น คนซื้อ: กินชาเขียวส่งรหัสไปลุ้นจนเป็นร้อนในแล้วเนี่ย, คนขาย: ครับ งั้นสู้ด้วยเย็นๆครับ
แถมอีกนิด สำหรับพ่อค้า แม่ค้า มือใหม่ สิ่งที่ไม่ควรทำ เวลาขาย
  1. อย่าไม่รู้ – พูดง่ายแต่ก็ทำยาก ดังนั้นเราจะต้อง ศึกษาผลิตภัณฑ์ให้มากที่สุด อย่าแสดงความไม่เชี่ยวชาญออกมา เช่น ลูกค้า: อยากเอามาทาสิวแบบ สิวเห่อ แดง อ่ะค่ะ สินค้าตัวนี้ใช้ได้มั้ย, แม่ค้า: ไม่แน่ใจนะคะ เคยแต่สิวเล็ก จะเอาไปลองใช้ก่อนมั้ยคะ
  2. ถ้าไม่รู้ อย่ามั่ว – มั่วไปแล้วยิ่งแย่หนักเลย ถ้าไม่รู้จริงๆ ก็ขอเวลาหาข้อมูลมาให้
  3. อย่า Hard sale – ซึ่งก็คือ ขายแบบยัดเยียด จะขายให้ได้ คนซื้อจะอึดอัด
เช่น ตัวอย่างข้างล่าง ลูกค้ารู้สึกเลยว่า นี่ฉันหลงมาใช่มั้ย โดนจัดหนักเลย
ปิดการขาย
คิดง่ายๆว่า เราชอบอะไร ลูกค้าก็ชอบแบบนั้นแหละครับ ถ้าเร่งขาย ก็ต้องรู้จักการแตะเบรกบ้าง ฝึกไม่นาน ก็จะเป็นนักขายที่เก่งได้ครับ
สำหรับใคร ที่ต้องการสอบถาม หรืออยากได้แฟนเพจสวยๆ
ทักมาได้เลยนะครับ แกะหวาน รับทำแฟนเพจ เว็บไซต์ โลโก้
http://sweetsheepwebdesign.com/

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

การสร้างแบรนด์ 3 – การตั้ง ชื่อแบรนด์

การสร้างแบรนด์ 3.5 – ตั้งชื่อแบรนด์ มงคล โดย เลขศาสตร์

ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็ด้วยกล ไม่ได้ด้วยกลก็ต้องด้วยมนต์คาถา
แกะหวาน เรายัง รับทำแฟนเพจ ไม่ได้เป็น พ่อหมอ ที่ไหน แต่จากบทความที่แล้ว การตั้งชื่อแบรนด์ สำหรับคนที่กำลังต้องการจะ ตั้งชื่อ แล้ว ชั่งใจ ไว้ระหว่างหลายๆชื่อ ไม่รู้ จะเอา ชื่ออะไรดี
วันนี้ อาจารย์แกะ จะมา นำเสนอ วิธี บวกลบ เลขศาสตร์ เพื่อให้ตั้งชื่อแบรนด์ มงคล ใครไม่เชื่อ ก็ไม่เป็นไร แต่ ทำไว้ ก็ไม่เสียหาย ตัวอย่างของชื่อร้านที่บวกได้เลขมงคล เช่น mercedes benz มีคำวิเคราะห์ดังนี้
ได้เลข 50 เป็นเลขดีมาก มีดวงเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และต่างประเทศ
รับทำแฟนเพจ แกะหวาน
วิธีดูนั้นก็ไม่มีอะไรมาก จับตัวอักษรไปแทนด้วยตัวเลข แล้วก็บวกกันให้หมดเลย
ดูแผนภาพตัวอักษรที่นี่
แฟนเพจ
พอบวกเสร็จ มาดูว่าตกเลขอะไร มีความหมายอะไร (อ่านไม่ได้คลิกที่รูปนะ)
ร้อย
ก่อนจะตาลายกัน ขอแนะเลขเด็ดๆเลยละกันครับ
เลขศาสตร์ ที่ให้คุณดีมาก : 2 , 4 , 5 , 6 , 9 , 14 , 15 , 19 , 23 , 24 , 36 , 41 , 42 , 45 , 46 , 50 , 51 , 54 , 55 , 56 , 59 , 63 , 64 , 65, 90, 95, 99, 100
เลขศาสตร์ ที่ให้คุณ ระดับดี : 20 , 32 , 40 , 44 , 69 , 79
นอกเหนือจากนี้ ถ้าใครอยากดูลึกไปอีกสเต็บนึง ก็ดูว่าตัวอักษรแต่ละตัวนั้นเข้ากับวันเกิดเราหรือไม่
โดยมีความหมายตามนี้
แฟนเพจ
จบแล้วครับ หวังว่าจะได้ชื่อดีๆกันทั่วหน้านะครับ แต่อย่างไรก็ดี ชื่อเป็นแค่เพียงส่วนประกอบหนึ่ง ซึ่งอาจจะไม่ได้มีผลเลยหรือเปล่าก็ไม่รู้ เชื่อแล้วต้องไม่งมงายด้วยนะครับกว่าจะประสบความสำเร็จ จะต้องแลกมากับหยาดเหงื่อและสมอง คงไม่มีใครจะสำเร็จได้ด้วยแค่ชื่อดี ไว้ติดตามบทความจากแกะหวานได้ใหม่ เมื่อแกะเรามีเวลาชิลนะครับ

สำหรับใคร ที่ต้องการสอบถาม หรืออยากได้แฟนเพจสวยๆ
ทักมาได้เลยนะครับ แกะหวาน รับทำแฟนเพจ เว็บไซต์ โลโก้
http://sweetsheepwebdesign.com/

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

แกะหวาน รับทำเพจ จ้า

เข้าขมผลงาน รายละเอียดได้เลย
อยากได้แฟนเพจสวย โดดเด่น ขายดี ต้องที่นี่เลย

รับทำเพจ

การสร้างแบรนด์ 3 – การตั้ง ชื่อแบรนด์

การตั้ง ชื่อแบรนด์

จากบทความที่แล้ว อธิบายถึงการสร้างโลโก้ แต่ลืมครับ ก่อนที่จะทำโลโก้ เราต้องคิดชื่อของแบรนด์ซะก่อน
ชื่อของแบรนด์นั้นก็สำคัญมาก เพราะเป็นเสมือนชื่อของตัวเรานี่เอง เป็นชื่อที่จะเป็นที่จดจำของลูกค้า การตั้งชื่อก็สามารถสรุปวิธีขั้นต้นมาได้ดังนี้

1. กฎสากล 6 ตัวอักษร 3 พยางค์

เป็นกฏในต่างประเทศที่ไว้ตั้งชื่อภาษาอังกฤษ ซึ่งจะต้องไม่เกิน 6 ตัวอักษร และออกเสียงไม่เกิน 3 พยางค์
มีจุดประสงค์เพื่อให้ชื่อกระชับ ออกเสียงง่าย จำง่าย ต้องติดปากคนทั่วไป เช่นแบรนด์ดังๆ อย่าง Nike Dior
ส่วนชื่อที่เป็นภาษาไทย ก็ควรจะคำนึงถึงความสั้นกระชับเช่นกัน เช่นแบรนด์อย่าง Xerox, มาม่า หรือ แฟ้บ ก็สามารถติดปากจนเป็นชื่อเรียกแทนผลิตภัณฑ์ได้เลย
สร้างแบรนด์แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อมีแบรนด์เกิดขึ้นมากมาย การทำสิ่งที่แตกต่างก็เป็นสิ่งที่ทำให้เราโดดเด่น ปัจจุบันจึงมีแบรนด์ที่มีชื่อยาวๆออกมาให้ได้เห็นกัน เช่น โชกุบุสสึ โมโนตาการิ
ดังนั้น เราอาจจะไม่ต้องซีเรียสกับจำนวนอักษรและพยางค์มากนัก คำนึงถึงความเหมาะสมดีกว่า

2. เรียบง่ายเข้าไว้

การที่จะทำให้ชื่อของแบรนด์เป็นที่จดจำ เราควรที่จะตั้งชื่อที่ ง่ายๆ เข้าถึงง่าย จดจำได้ง่าย เช่น จะขายครีมผิวขาว White Shadow (สโลแกนอาจจะประมานว่า ขาวยันเงา 55) ซึ่งจะง่ายกว่า ชื่อแบบ International beauty cream by ja หรือกระทั่ง KFC ก็เป็นการย่อชื่อจากชื่อเก่า Kentucky Fried Chicken การตั้งชื่อที่สะกดยาก ออกเสียงยากนั้นสมควรหลีกเลี่ยง
เพราะอย่างไรก็ตาม เราต้องการให้ลูกค้าเซิร์จหาร้านเราได้ง่าย

3. แตกต่างเด่นกว่า

ชื่อดีๆมีมากมาย แต่การจะตั้งชื่อ เราจะต้องดูคู่แข่งด้วย เพื่อโดดเด่นแตกต่าง แถมถ้าชื่อเหมือนเกินไป จะมีภาพลักษณ์เป็นแบรนด์เลียนเช่น ทำน้ำอัดลม ยี่ห้อเป๊บซ่า แม้เราจะเถียงให้ตายว่าคิดใหม่ๆ ไม่ได้เลียนแบบ ยังไงก็ไม่มีคนเชื่อเราแน่นอน หรือการใช้ชื่อที่ คนใช้กันเยอะแยะทั่วไป หรือชื่อโหล ก็ทำให้เราไม่เด่น เช่น ภาพด้านล่าง ร้านขายครีมมากมาย ร้านที่คุณจำได้คือร้านไหน
สร้างแบรนด์
ลูกค้ามากมาย ที่แวะเวียนเข้ามาที่ร้านเรา และยังไม่ได้ซื้อสินค้าในทันที เขาจะกลับไปพิจารณา หรือกลับไปเก็บเงินก่อน พอเขาพร้อมซื้อ เขาก็จะกลับไปหาสินค้าแบรนดฺที่เขาจำได้ ซึ่งเมื่อเราแตกต่างก็ยิ่งได้เปรียบ

4. เลือกแนวทางการตั้งชื่อ

ซึ่งจะแบ่งได้หลายวิธี
วิธีแรก ใช้แนวคิด ตั้งชื่อโดยบรรยายธุรกิจของเรา เช่น Microsoft, Miss Lily, Master card หรือ ชื่อแบรนด์ของพี่สาวแอดมินเอง ร้านเค้กชื่อ “ลองชิมซิเออ” ^^
วิธีที่สอง ชื่อที่ไม่เกี่ยวกับเราเลย แต่ปลุกเร้าได้ สื่อความหมายได้ เช่น Big C (C มาจาก customer)หรือ แกะหวานของเราก็เช่นกัน มีความหมายที่ไม่เกี่ยวกับงานเลย (แต่น่ารักนะ)
วิธีที่สาม ชื่อที่ไม่ได้มีความหมายอะไรเลย แต่ว่าจำได้ง่าย เช่น Google
วิธีที่สี่ เอาวิธีข้างต้นมาผสมกัน และอาจจะเล่นคำลงไป เพื่อให้จำง่าย เช่น salz (อ่านว่าเกลือแต่จงใจสะกดด้วยตัว z)หรือ FCUK (ถ้าสลับ Cกับ U ก็จะเป็นคำล่อแหลม แต่กลับทำให้จำง่าย กลายเป็นแบรนด์ที่นิยมของวัยรุ่นไปเลย)

5. สร้างชื่อที่มีลักษณะเป็น Platform เพื่อต่อยอดสินค้าและบริการ

หมายถึงการตั้งชื่อกลางๆเพื่อเป็นชื่อแบรนด์หลักที่สามารถเติมชื่อพ่วงท้าย กลายเป็นแบรนด์ย่อยๆของสินค้าใหม่ๆได้ เช่น Sony แตกเป็น Sony music, Sony computer entertainment
มีข้อดีคือ เราจะประหยัดทั้งงบ ทั้งเวลา เพราะแม้เราจะมีแบรนด์สินค้าตัวใหม่ขึ้นมา ยังไงคนก็จดจำแบรนด์ใหญ่ของเราได้อยู่แล้ว
นอกจากนี้การตั้งชื่อแบรนด์นั้นก็มีข้อที่ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน
1. อย่าพยายามเลียนแบบชื่อแบรนด์คนอื่น แม้จะแค่คล้ายๆก็อาจโดนฟ้องกรณีสร้างแบรนด์ให้เกิดความสับสนว่าร้านใครเป็นร้านใครแน่ แย่กว่านั้นถ้าลูกค้ารู้ว่าเราคือแบรนด์เลียนแบบ ภาพลักษณ์ก็ยิ่งลงเหวไปใหญ่
2. อย่าใช้ชื่อสกุลตัวเองมาตั้ง เพราะทำให้จำยาก แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เช่น แม่ประนอม ครัวเจ๊ง้อ เจ๊เล้ง ฯลฯ
3. อย่าตั้งชื่อโดยใช้คำฮิตๆช่วงนั้น เพราะมันจะมาเร็วแต่ไปเร็ว เมื่อหมดความดัง เช่น ยังจำคลิปเด็กที่ดังข้ามคืน โดยมีวลี “เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่” ได้มั้ย ถ้ามีใครเอาชื่อ อังคณา ไปใช้เป็นชื่อแบรนด์ตอนนั้นก็คงจะดังเร็ว แต่ปัจจุบัน ไม่มีใครจำได้แล้ว
4. เลี่ยงชื่อที่มีผลต่อความเชื่อ ความเปราะบางละเอียดอ่อนของใจคน อย่างการเมืองหรือศาสนา เพราะอาจโดนต่อต้านจากสังคมไม่มากก็น้อย เช่น การเมืองปัจจุบัน ถ้าเราตั้งชื่อให้รู้ว่าเราสีเสื้ออะไร อยู่ฝ่ายไหน ฝ่ายตรงข้ามก็ไม่มากินร้านเราแน่นอน


สำหรับใคร ที่ต้องการสอบถาม หรืออยากได้แฟนเพจสวยๆ
ทักมาได้เลยนะครับ แกะหวานรับทำแฟนเพจ