วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

วิธีวิเคราะห์ รู้เขา รู้เรา SWOT analysis

จะขายของเริ่มต้นอย่างไร คนหลายคนมีปัญหาเหล่านี้ วันนี้เราจะมาแนะนำ วิธีที่เอามาวิเคราะห์ ชื่อว่า SWOT analysis

SWOT analysis คือการวิเคราะห์จุดเข็งและจุดอ่อนขององค์กร โดยวิเคราะห์ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกของเพื่อที่จะใช้เป็นข้อมูลในการวางกลยุทธ์ให้เหมาะสม ซึ่งไม่ว่าองค์กรขนาดใหญ่หรือเล็กก็ยังใช้วิธีนี้วิเคราะห์แล้วประสบความสำเร็จ ดังนั้นทำไมร้านแบบเล็กๆ ออนไลน์ ของเรา ถึงจะใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพวิธีนี้ไม่ได้กันล่ะ
เอาล่ะครับ เรามารู้จักกับ SWOT กันก่อน คำๆนี้มาจาก ตัวย่อภาษาอังกฤษ ดังนี้
S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งขอเน้นนะครับว่ามาจากปัจจัยภายในองค์กร เช่น เราเป็นผู้ผลิตเอง เราถนัดสิ่งนั้นมาตั้งแต่รุ่นพ่อ
W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายในเช่นกัน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่อง เช่น เรามีทุนน้อย สต็อกของไม่ได้ หรือสกิลไม่มากพอ
O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เน้นนะครับว่าภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริม เช่น เฟอร์บี้ดัง เราก็มีโอกาสเอามาขาย
T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น คู่แข่งล้นตลาด เทปเพลงล้าสมัยขายไม่ได้ต้องเปลี่ยนเป็นCD เป็นต้น
สรุปแล้ว การวิเคราะห์ SWOT ก็คือการวิเคราะห์จากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ ภายในและสภาพการณ์ภายนอก โดยวิเคราะห์ทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้เขา รู้เรา
SWOT

ลองฝึกวิเคราะห์ SWOT สำหรับธุรกิจของเราดูนะครับ
เริ่มต้นด้วย S กันก่อน
– ถามตัวเองนะครับ ว่าเรา จุดได้เปรียบของเราคืออะไร
– อะไรคือสิ่งที่องค์กรของคุณทำได้ดีกว่าคู่แข่ง
– เราสามารถที่จะทำต้นทุนต่ำๆกว่าคู่แข่งหรือไม่
– ลูกค้ามองเห็นเราเป็นยังไง สิ่งที่เขามองคือจุดแข็งหรือไม่
– ปัจจัยอะไรที่ทำให้เราขายได้
คำถามเหล่านี้ทำให้เราสามารถหาข้อได้เปรียบจริงๆ (เพราะเทียบกับคู่แข่งแล้ว ไม่ใช่คิดเอาเอง) และยังคิดในมุมลูกค้าได้อีกด้วย เช่น คุณขายเสื้อผ้าแฟชั่นได้ และคิดว่าสามารถหาเสื้อจากแหล่งที่ทุนต่ำกว่าคู่แข่งได้ นอกจากนี้ยังมีความชื่นชอบแฟชั่น จนดูเสื้อผ้าได้เก่ง ลูกค้าเข้ามาทีไรก็เห็นแต่เสื้อสวยๆ แนะนำลูกค้าได้ตลอด มุมมองของลูกค้า ก็จะเห็นว่าเราคือผู้เชียวชาญด้านเสื้อผ้าแฟชั่น ซึ่งมองจุดแข็งเรา เป็นต้น
จากนั้น วิเคราะห์ W จุดด้อยของเรา กันต่อเลย
– เราควรปรับปรุงอะไร
– อะไร คือ สิ่งลูกค้ามองว่า นี้คือจุดอ่อน
– ปัจจัยอะไร ที่จะทำให้ยอดขายของคุณตก

คำถามเหล่านี้มีไว้ให้วิเคราะห์จุดด้อยของเราที่คู่แข่งมีเหนือกว่าเรา และมองในมุมมองของลูกค้า เช่น เราขายครีมบำรุงผิวโดยใช้รูปของเจ้าอื่นมาแปะเอา ซึ่งรูปถ่ายออกมาทั้งเบลอ ทั้งไม่น่าเชื่อถือ (มองในมุมลูกค้า คือไม่เชื่อถือเรา) ในขณะเดียวกันคู่แข่งกลับมีเทคนิคการนำเสนอ การถ่ายภาพที่ดี มีการจ้างนางแบบมาถ่ายเอง ภาพสวย คมชัด ดูน่าเชื่อถือมาก ทำให้คู่แข่งขายดี ส่วนเราขายได้น้อยลง
หลังจากนั้นมาวิเคราะห์ O โอกาสของเรากัน
– อะไร คือ โอกาสที่ดีเราสามารถมองเห็นมันได้
– แนวโน้มของธุรกิจ ทิศทางพฤติกรรมของลูกค้าเป็นอย่างไร
การที่จะมองโอกาสเหล่านี้เราอาจจะต้องรอบรู้สักนิด ฟังข่าวสักหน่อย เราถึงจะมองเห็นมันนะครับ เช่น
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งเราจะต้องคิดว่าเราจะสามารถ ใช้โอกาสนั้นๆทำให้เราเหนือกว่าคู่แข่งได้มั้ย เช่น iphone รุ่นใหม่จะมา เลยเอาเคสรุ่นใหม่มาขายก่อนใคร หรือ แกะหวาน เล็งเห็นว่า facebook มียอดคนใช้เพิ่มขึ้นทุกวัน เลยมารับออกแบบแฟนเพจ เป็นต้น ^^
สุดท้ายคือ วิเคราะห์ T อุปสรรค โดยตั้งคำถามว่า
– อุปสรรคที่อยู่ตรงหน้าคุณ คือ อะไร
– คู่แข่งของเรานั้น กำลังทำอะไรอยู่
– คุณภาพและมาตรฐานที่กำกับสินค้าของเรา มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
– เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันตรายกับเรามั้ย
จากคำถามนี้ ทำให้เราสามารถวางแผนที่จะหลีกเลี่ยงอันตราย หรือปรับตัวตามได้ เช่น คู่แข่งเรามีโปรโมชั่น ส่งรหัสใต้ฝาชาเขียวลุ้นล้าน ยอดเราตกแน่ๆถ้าเราไม่ทำโปรบ้าง (อิชิตันกับโออิชินั่นเอง) หรือการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำก็เป็นอุปสรรคของเราเช่นกัน หรืออาจจะเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทำให้ร้านเช่า VDO เปลี่ยนไปเป็นร้านเช่า CD และ DVD เป็นต้น
สำหรับเรื่องของ SWOT ก็จบลงเท่านี้ ซึ่งความจริงแล้วสามารถลงลึกได้มากกว่านี้อีกเยอะทีเดียว แต่สำหรับเบื้องต้น ก็สามารถเอาความรู้นี้ไปใช้ได้ อยากให้พ่อค้าแม่ค้าทุกคน ลองเอาไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ จะสามารถทำให้เรารู้สาเหตุแห่งการ ขายได้ หรือ ขายไม่ได้ จะขายต่อมั้ย ทำแบบไหนถึงจะขายดี แกะหวานเป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ ขอให้ขายดีๆกันทุกคน


ถ้าอยากทำแฟนเพจ และปรึกษาการสร้างร้านให้ขายได้ ติดต่อเรานะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น